28 พฤศจิกายน 2561

Big Cleaning at Expat Auto Chiangmai

พนักงานบริษัท Expat Auto Chiang Mai รวมพลังกันทำความสะอาดต้อนรับเทศกาล คริสมาสต์ และปีใหม่ ที่จะถึงนี้

บรรยากาศเต้นท์รถ


มากันเช้าๆเพื่อช่วยกันเก็บกวาดใบไม้ ที่ล่วงมาในช่วงฤดูหนาว

พี่สมชาย หนุ่มหล่อขวัญใจสาวบัญชี

อู่ซ่อมรถเราสะอาด

แทบไม่มีใบไม้ให้กวาดแล้วตอนนี้ เกลี้ยง!!

เก่งถ่ายภาพแล้ว ยังเก่งเก็บกวาดด้วย

หลังทำความสะอาด

หลังทำความสะอาด

รถก็น่าซื้อ บรรยากาศบริษัทก็ดี

Elijah เก่งทุกอย่าง ตั้งแต่ขาย ซ่อม ดูแล และบริการลูกค้าดีเยี่ยม

ยิ้มละลายใจสาว


สาวๆก็ขยันไม่แพ้กัน

เก็บกวาดเช็ดถู ในและนอกบริษัท

สาวสตรอง ของ Expat Auto

แคชเชียร์สาวสวยประจำบริษัทเรา



21 ตุลาคม 2561

ควรทำอย่างไรบ้าง เมื่อเริ่มต้นครอบครองรถยนต์มือ 2

รถยนต์มือสอง

แน่นอนว่าทางเลือกสำหรับคนที่อยากได้รถที่ต้องการซักคัน แต่เงินในมือกลับไม่สามารถถอยแบบป้ายแดงได้ ก็ต้องเลือกกันแบบรถยนต์มือ 2 ที่ราคาต่างจากรถป้ายแดงแบบมากมาย แต่คุณภาพที่ได้อาจจะไม่ได้แย่ไปตามราคาที่ลดลงมา ทาง Autodeft ก็เคยแนะนำวิธีเลือกซื้อและลองรถยนต์มือ 2 ไปบ้างแล้ว วันนี้จะขอแนะนำกันต่อว่า เมื่อตัดสินใจเลือกซื้อและได้รถยนต์มือ 2 มาครอบครองแล้ว สิ่งต่อไปที่ควรจะต้องทำหลังจากได้รับรถมาแล้วมีอะไรบ้าง

car key
เปลี่ยนกุญแจประตู
เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่มากๆ ที่ควรต้องทำอย่างแรก ถ้าเราไม่ได้ซื้อมาจากคนรู้จัก เราก็ไม่มีทางรู้ได้หรอกว่า คนที่ขายเรามานั้นจะเป็นคนดีหรือคนร้าย ถ้าเขาดันปั๊มกุญแจรถที่ตอนนี้เป็นของเราเอาไว้ แล้ววันหนึ่งเขาก็แอบมาไขรถแล้วเอาไปโดยที่เราไม่รู้ตัว เราก็ต้องผ่อนกุญแจกันต่อไปอย่างเศร้าใจ ดังนั้นลงทุนซักนิดในการเปลี่ยนกุญแจประตู ก็จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องนี้ได้ทันทีครับ
Lubricant
เปลี่ยนถ่ายของเหลวในรถทั้งหมด
ของเหลวในที่นี้ยกเว้นเพียงน้ำมันเชื้อเพลิงเพียงอย่างเดียวที่ไม่ต้อง ที่เหลือควรเปลี่ยนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเครื่อง, น้ำมันเกียร์, น้ำมันเฟืองท้าย หรือแม้กระทั่งน้ำยาหม้อน้ำก็เปลี่ยนให้หมด เพราะเราไม่รู้หรอกว่าเจ้าของเก่าเคยเปลี่ยนไว้เมื่อไหร่ เมื่อของเหลวเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีอายุการใช้งานตามระยะทาง ดังนั้นเรามาเริ่มนับ 1 กันใหม่ในมือเราดีกว่าครับ
Timing Belt
เปลี่ยนสายพานไทม์มิ่ง
ปกติแล้วอายุการใช้งานของสายพานไทม์มิ่งจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 กิโลเมตร ถ้าบังเอิญว่ารถมือ 2 ที่เราซื้อมามีเลขไมล์ที่เกินกว่านี้แล้ว และไม่มีบันทึกการเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่งจากศูนย์บริการมา เราก็ตัดใจเปลี่ยนดีกว่าครับ เพราะถ้าวันไหนเกิดซวยมันขาดขึ้นมา คราวนี้เรื่องใหญ่ถึงเปลี่ยนเครื่องได้เลยครับ แต่ถ้ารถรุ่นไหนใช้โซ่ ก็ไม่ต้องเปลี่ยนก็ได้ครับ
Car wire
เข้าอู่เช็คระบบไฟ
ระบบไฟในรถยนต์เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบ และเราเองก็คงไม่สามารถตรวจสอบด้วยตัวเองขณะเลือกซื้อรถมือ 2 ได้ ดังนั้นเมื่อได้รถมาแล้ว การนำรถไปตรวจสอบระบบไฟทั้งหมดบนเราคันใหม่ของเรา (คันเก่าของคนอื่น) ก็สำคัญไม่น้อยเช่นกัน ป้องกันการรวนของระบบในรถยนต์ทั้งหมดที่ใช้ไฟฟ้าครับ
Clean car
ล้าง, ทำความสะอาดให้เกลี้ยง
ในที่นี้หมายถึงล้างทั้งภายนอกและทำความสะอาดภายในอย่างละเอียด เพราะคนที่จะขายรถส่วนใหญ่แล้วจะทำการล้างเฉพาะในจุดที่คนซื้อจะมองเห็น และภายในก็จะใช้การฉีดน้ำหอมเพื่อกลบกลิ่นเท่านั้น ดังนั้นเมื่อรับรถมาแล้ว ก็ควรจะล้างแบบอัดฉีดทุกซอกมุมที่ภายนอก ส่วนภายในควรจะซักเบาะ, อบโอโซน หรืออื่นๆเพื่อกำจัดกลิ่นและเชื้อโรคต่างๆที่อาจจะสะสมอยู่ภายในเบาะและพรม รวมถึงแอร์ก็ควรถอดออกมาล้างเช่นกันครับ
tire check
ตรวจสอบชิ้นส่วนที่เป็นยาง
ชิ้นส่วนพวกนี้อาจจะยังไม่ต้องเปลี่ยนก็ได้ แต่ต้องสำรวจด้วยสายตาก่อน อย่างเช่นยางรถยนต์, ท่อยางน้ำระบายความร้อน, สายพานแอร์ ถ้าดูแล้วมีการเริ่มเสื่อมสภาพแล้ว ก็ควรเปลี่ยนไปซะเลย เพื่อป้องกันการเสียหายที่มากขึ้นเมื่อมันเกิดเสียหายขึ้นมาครับ
อาจจะดูเยอะแยะไปหมด และต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าที่จะได้ใช้รถมือ 2 ที่เราซื้อมา แต่ถ้าเรายอมเสียเงินและเวลากับส่วนนี้ซักหน่อย มันก็จะช่วยให้รถคันนี้ อยู่กับเราได้นานกว่าที่เราไม่ทำอะไรเลยแน่นอนครับ
เรียบเรียงโดย : Earthpark02

14 ตุลาคม 2561

ราคาน้ำมันวันนี้


ราคาน้ำมันวันนี้

( 15 ตุลาคม 2561 )
ประเภทราคา บาท/ลิตร

แก๊สโซฮอล 91

30.68

แก๊สโซฮอล 95

30.95

แก๊สโซฮอล E20

27.94

แก๊สโซฮอล E85

21.74

ดีเซล

29.89

เบนซิน 95

38.06

ก๊าซ CNG (NGV)

15.13
ข้อมูลจาก ปตท.

07 ตุลาคม 2561

ออกมาแล้ว!! 23 พรบ. จราจรใหม่ ปรับหนักมากขึ้น โปรดระวัง!!วันที่ 25



ออกมาแล้ว!! 23 พรบ. จราจรใหม่ ปรับหนักมากขึ้น โปรดระวัง!!วันที่ 25      ค่าปรับ ตาม พ.ร.บ.จราจร มาแล้วนะ ฝากแจ้งเตือนกันด้วยโดนเข้าไปมีโอกาสกินมาม่ายาวถึงสิ้นเดือนกันเลยทีเดียว..   

1.ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน / วางไว้ที่กระจก = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.11,ม.60) 

2.แผ่นป้ายทะเบียนตัดต่ออัดกรอบใหม่เป็นป้ายขาว = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60) 

3.ติดป้ายเอียง มีวัสดุปิดทับ = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60) 

4.แผ่นป้ายทะเบียนปลอม = ป.อาญา ฟ้องศาล 

5.โหลดเตี้ย (วัดจากกึ่งกลางไฟหน้ากับระดับพื้นถนนต้องไม่ต่ำกว่า 40cm) = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60) 

6.ยกสูง (วัดจากกึ่งกลางไฟหน้ากับระดับพื้นถนนต้องไม่สูงกว่า 135cm) = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60) 

7.ล้อยางเกินออกมานอกบังโคนข้างละหลายนิ้ว = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60) 

8.ใส่ล้อใหญ่จนแบะล้อเพื่อหลบซุ้ม = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60) 

9.ตีโป่งขยายซุ้มล้อติดสปอยเลอร์ต้องมีการยึดติดอย่างแน่นหนา = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60) 

10.ฝาประโปรง หน้า-หลัง ดำ เกิน50%ของสีหลัก = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.13,ม.60) 

11.เปลี่ยนท่อไอเสียใหญ่เสียงดัง = ปรับไม่เกิน 1,000 บาท (ม.5(2),ม.58) 

12.ไฟหน้าหลายสี เช่น เขียว แดง ฟ้า เหลือง = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.12,ม.60) 

13.ไฟหยุดต้องสีแดง(ไฟเบรค)เท่านั้น = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.12,ม.60) 

14.ไฟเลี้ยวต้องเป้นสีเหลืองอำพัน = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.12,ม.60) 

15.ไฟส่องป้ายต้องเป็นสีขาวเห็นไม่ต่ำกว่า 20 เมตร = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.12,ม.60) 

16.ไฟสปอร์ตไลท์ และโคมไฟตัดหมอกแสงพุ่งไกล = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.12,ม.60) 

17.เปิดไฟตัดหมอกโดยไม่มีเหตุ = ปรับไม่เกิน 500 บาท กฏกระทรวง ข้อนี้เจอบ่อย..สุดรำคาญมั่ยรุสอบใบขับขี่ได้งัย 

18.ติดไฟนีออนใต้ท้องรถ ติดไว้กับป้ายทะเบียน = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.12,ม.60) 

19.ดัดแปลงเป็นขับเคลื่อน 4 ล้อ = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60) 

20.เปลี่ยนดีสเบรคหลัง = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60) 

21.ใส่หลังคาซันลูป = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60) 

22.ถอดเบาะหลังออกแล้วติดโรลบาร์ = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60) 

23.ดัดแปลงเครื่องยนต์ วัดควันดำ = ปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท

24.พ่นสีรถสะดุดตาจากความเป็นจริง ปรับ5000-10000 หรือทั้งจำทั้งปรับ

25.รถใหม่ป้ายแดงเมือออกมาแล้วห้ามนำมาคัคแปลงในระยะเวลา 1 ปี มีโทษปรับ1000-10000 หรือทั้งจำทั้งปรับ

26. กินอาหารบนรถขณะขับขี่ ปรับไม่เกิน2000บาท

27. บ่นเสียงดังหรือทะเลาะกันบนรถ ปรับ 1000บาท

28. แต่งหน้าบนรถ ปรับ2000บาท จำคุก1เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
(พรบ.ขนส่ง)

02 ตุลาคม 2561

ซื้อรถ กับแฟน.. เรื่องนี้คิดให้หนักก่อนจะตัดสินใจ


คุณกำลังวางแผนจะซื้อรถกับแฟนใช่หรือไม่ ..บางทีอาจจะคิดให้ถี่ถ้วนก่อนว่า มันควรหรือจำเป็นหรือเปล่าเพราะ ความสำคัญไม่แน่นอน

เรื่องโดย ดินน้ำมัน
ทุกวันนี้เรื่องความสะดวกสบายในการเดินทางเป็นเรื่องที่เราหลายคนต่างมองหาในการตอบโจทย์เรื่องของคุณค่าชีวิต ซึ่งในจุดๆ หนึ่งเราก็คงอยากจะมีรถยนต์เป็นของตัวเองสักคัน และในเวลาเดียวกัน เราหลายคนก็มองคนข้างกายว่า เขาหรือเธอน่าจะเป็นผู้ร่วมชะตาสร้างอนาคตไปด้วยกัน
อย่าแปลกใจ ถ้าในเวลาหนึ่งที่คุณคิดกำลังจะซื้อรถยนต์ใหม่สักคันเข้ามาในชีวิต จะถูกประโยคสำคัญที่ปานจะเชือดเฉือนว่า ถ้าเธอไม่ช่วยฉันแปลว่า เธอไม่รักฉันเข้ามาทำให้เราลำบากใจ เมื่อใครสักคนที่อยู่ข้างกายในโมเม้นท์ความรักเกิดอยากจะมีรถใหม่ เป็นของตัวเอง และท้ายสุดก็เอ่ยปากให้คุณช่วยสนับสนุนความคิดนี้ โดยจับเอาเหตุผลร้อยแปดพันเก้ามาชักแม่น้ำทั้ง 5  ว่า  รถยนต์เป็นปัจจัยที่สำคัญจริงๆ ในการดำรงอยู่ของชีวิตคู่
หลายคนอาจจะตระหนักไตร่ตรองมานานในการซื้อรถยนต์ด้วยกัน แต่ในแง่หนึ่งที่สำคัญ การตัดสินใจซื้อรถยนต์สักคันกับคนที่รัก อาจจะนำมาสู่ปัญหามากมายต่อไปในภายภาคหน้า แม้วันนี้เราอาจจะเห็นรอยยิ้มและความยินดีของเขาในการก้าวไปอีกบนหนทางในอนาคตที่จะใช้ชีวิตร่วมกันก็ตามที
ข้อเท็จจริงหนึ่งที่หลายคนไม่ตระหนัก เมื่อเกิดกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์กับคนข้างกายก็คง อยู่ตรงที่ความไม่แน่นอนในอนาคต ไม่ว่าจะปัญหาทางด้านการงานของแต่งละฝ่าย ที่จะโยงใยไปสู่ปัญหาทางการการเงิน
ไปจนถึงท้ายที่สุด ความสัมพันธ์ที่ไม่แน่นอน แม้ว่าคุณกับเขาจะรักกันมากมายแต่ใครจะไปรู้ว่าวันเวลาที่ผันผ่าน อาจจะทำให้จิตใจคนเราเปลี่ยนไปและท้ายสุดนำไปสู่ปัญหาทางด้านความสัมพันธ์จนต้องเลิกรากันไป แล้วที่คุณมักไม่รู้เกี่ยวกับการซื้อรถยนต์ คือมันมีผลผูกพันยาวนาน และยังสามารถดำเนินคดีทางแพ่งได้ตามกฎหมาย ยิ่งทุกวันนี้คุณคงต้องลำบากให้ผู้ใหญ่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้ามาช่วยจัดการ ในเรื่องของการค้ำสินเชื่อ ...เรื่องการซื้อรถด้วยกันฟังดูง่าย แต่เป็นเรื่องใหญ่กว่าที่คุณคิด
คำถามหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในภาวะที่กลายคนมีปัญหาในด้านความสัมพันธ์ คงไม่พ้นว่า ท้ายที่สุด ถ้าเราสองคนไปไม่รอด ควรจะจัดการอย่างไร แต่ในขณะที่หลายคนกำลังมืดไปด้านเศร้ากับความรัก วิธีจัดการปัญหานี้มี สองวิธีง่ายๆ ที่คุณคงต้องเลือกเอาเอง
1.ตกลงกันว่าใครครอบครองรถ  ทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดในแรกที่เราอยากจะนำเสนอเลย คือการเจรจาหรือพูดคุย ว่าใครจำเป็นต้องใช้รถมากกว่ากัน โดยหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการหรือมีความจำเป็นในการใช้รถมากกว่า หากเห็นแก่ความรักที่ผ่านมา ก็อาจจะปล่อยให้รถเป็นของเขาหรือเธอไปก็ได้
แต่เพื่อให้ตัวคุณเองไม่เสียประโยชน์จากสิ่งที่เคยทำร่วมกันมา อาจจะขอให้เขาหรือเธอชำระเงินในส่วนขงคุณตามจำนวนจริงที่ได้เกิดขึ้นกลับมาให้ แต่เรื่องนี้ต้องตกลงให้เรียบร้อย และเป็นลายลักษณ์อักษรที่ผลตามกฎหมายได้ แม้ว่าอาจจะดูแล้วใจร้ายไปนิด แต่ก็ดีกว่าที่คุณจะเสียประโยชน์ไปทั้งหมด  หรือใครจะรู้ บางทีคุณอาจจะเป็นผู้ที่เก็บรถคันนั้นไว้เองก็ได้ ถ้าหากต้องการ
2.ขายรถคันนั้นทิ้ง มักจะเป็นทางเลือกที่ทำใจยากแต่ทรัพย์สินเป็นของนอกกาย การขายรถยนต์คันที่เราเคยซื้อร่วมกันกับแฟน มักจะเป็นทางออกที่ดีเสมอ ยิ่งถ้าคุณรับไม่ได้ที่มันจะถูกนำไปใช้โดยคนที่คุณเคยรักในอนาคต การขายรถคันนั้นออกไป แล้วนำเงินที่ได้จากการขายมาแบ่งกัน ก็มักจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดเสมอ
แม้ว่า บางทีคุณอาจจะตัดสินใจซื้อรถไปแล้ว และอนาคตก็ยังเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ก็ขอให้คุณอย่าเพิ่งคิดมากในสิ่งที่ได้ตัดสินใจไป แค่คิดว่าทุกวันนี้ให้ดีที่สุดก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่สำหรับใครที่ยังไม่ได้ซื้อ หรือกำลังมีโครงการจะซื้อรถร่วมกัน จากความรักที่สุกงอมหวานชื่น และมองว่าต้องสร้างอนาคตร่วมกัน บางทีรอแต่งงานกันก่อนก็น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า
cr.autodeft

30 กันยายน 2561

ขายรถมือสองติดไฟแนนซ์ ควรทำอย่างไร


การ ขายรถมือสองติดไฟแนนซ์ ยังผ่อนไม่หมด ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากมีปัญหาการเงิน ไม่สามารถผ่อนต่อได้แล้ว ก็จำเป็นจะต้องขายรถออกไป เพราะเป็นหนี้ผูกพันระยะยาว และมีดอกเบี้ยเกิดขึ้นทุกวัน การขายรถในลักษณะนี้ มีความซับซ้อนที่จะต้องคำนวณการเงินคำนวณหนี้ให้ละเอียดรอบคอบ

สิ่งสำคัญที่สุดที่จะแก้ปัญหาการเงินจนทำให้ต้องขายรถที่ยังติดไฟแนนซ์ ผู้ขายรถจะต้องยอมรับความความจริงเรื่องภาระค่าใช้จ่าย และพยายามจัดการรายจ่ายให้เหลือน้อยที่สุด เรื่องรถยนต์นั้นเป็นรายจ่ายที่ต้องหยุดในทันทีหากมีปัญหาเรื่องเงิน อย่าเสียดายรถ หากมีเงินก็ซื้อใหม่ได้ ความเสียดายและพยายามยื้อเอาไว้จะทำให้เสียเงินมากยิ่งขึ้น เมื่อแน่ใจว่าเอาไม่อยู่แล้ว ต้องรีบตัดสินใจขายให้เร็ว ลดหนี้ให้เร็วที่สุด

สิ่งที่จะต้องทำก่อนการ ขายรถมือสองติดไฟแนนซ์

เมื่อมีปัญหาการเงินและจำเป็นต้องขายรถที่ยังติดไฟแนนซ์ ผู้เขียนมีคำ แนะนำดังนี้

A. คำนวณหนี้ค่างวดและค่าค้างชำระทั้งหมด

เรื่องแรกที่จะต้องรู้ก็คือ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ค้างกับทางบริษัทไฟแนนซ์ เช่น
1. ค่างวดที่เหลือทั้งหมด เหลืออีกกี่งวด
2. รายจ่ายอื่นๆ ทั้งหมด เช่น ดอกเบี้ยกรณีจ่ายค่างวดล่าช้า

ตัวอย่าง การผ่อนรถ Honda City

Honda City ราคา 649,000
ดาวน์ 20% 129,800
ผ่อน 6 ปี หรือ 72 งวดๆ ละ 8,423 บาท
รวมค่างวดทั้งหมด = 72 x 8,423 = 606,456 บาท

รายละเอียดการผ่อนรถ

สมมุติว่าได้ทำการผ่อนชำระไปแล้ว 24 งวด เป็นจำนวนเงิน 24 x 8,423 = 202,152 บาท
เหลือเงินค้างค่างวด 72 -24 = 48 งวด เป็นจำนวนเงิน 48 x 8,423 = 404,304 บาท

B. หาข้อมูลราคารถที่ซื้อขายในท้องตลาด

จากหัวข้อก่อนหน้านั้น สมมุติว่า รถมีค่างวดค้างทั้งหมดทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 404,304 บาท ก่อนจะประกาศขายรถติดไฟแนนซ์ จำเป็นต้องหาข้อมูลราคาซื้อขายของรถ Honda City ในท้องตลาดเสียก่อน หากมีปัญหาการเงินจำเป็นต้องขายรถ แนะนำให้ปฏิบัติตามนี้แล้วจะไม่เจ็บตัว
1. หาข้อมูลรถที่ลงประกาศซื้อขายในท้องตลาด รถปีเดียวกัน สีเดียวกัน คุณสมบัติต่างๆ เหมือนกัน
2. ให้ขับรถเข้าเต็นท์เพื่อให้เต็นท์ตีราคาว่ารถรุ่นนั้น รับซื้อที่ราคาเท่าไหร่
3. หากปล่อยให้ไฟแนนซ์ยึดรถ ให้สอบถามราคาว่าทางไฟแนนซ์จะตีราคาให้กี่บาท

C. วิเคราะห์ราคาซื้อ ขายรถยนต์ติดไฟแนนซ์ อย่างละเอียด

เมื่อได้ราคารถยนต์รุ่นนั้นๆ ที่ซื้อขายกันในท้องตลาด ราคาเต็นท์รับซื้อและราคาที่ทางไฟแนนซ์ตีราคากรณ๊ปล่อยให้ยึดรถแล้ว สิ่งที่จะ
ต้องทำต่อไปก็คือการวิเคราะห์ราคาซื้อขายกันแบบเจาะลึก

กรณีที่ 1 ราคาซื้อขายรถแพงกว่าหนี้ค้างค่างวดไฟแนนซ์

1. สมมุติว่ารถรุ่นนั้นซื้อขายกันอยู่ที่ 420,000 ในขณะที่ค้างค่างวดไฟแนนซ์ทั้งหมด 404,304 บาท
2. คิดเป็นส่วนต่างประมาณ 420,000 – 404,304 = 15,696 บาท หากมีเงินสดไปปิดไฟแนนซ์ แล้วเอารถมาลงประกาศขายเอง ก็จะเหลือเงินประมาณนี้ ถ้าสามารถขายได้ที่ราคา 420,000 การหาเงินสดอาจจะยืมเพื่อนฝูง หรือกู้นอกระบบ แต่คุยกับคนซื้อให้เรียบร้อยก่อน แล้วไปปิดไฟแนนซ์วันเดียวจบ ก็นำรถไปขายได้เลย แต่ผู้ซื้อต้องมีเงินสดหรือหากต้องการจัดไฟแนนซ์ ก็ต้องให้ยื่นดำเนินการให้ทางไฟแนนซ์ตรวจสอบเสียก่อน เพื่อให้สามารถจ่ายเงินได้เร็วที่สุด
3. แต่หากไม่มีเงินสดไปปิดไฟแนนซ์เพื่อขายรถเอง การขายผ่านเว็บไซต์อย่าง taladrod.com จะมีบริการปิดไฟแนนซ์ให้ด้วย ต้องติดต่อสอบถามรายละเอียด ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ เพื่อปิดไฟแนนซ์ ส่วนผู้ซื้อสามารถทำเรื่องผ่อนได้ในวันเดียวเช่นกัน หากเอกสารพร้อม แต่หลังจากเคลียร์รายหนี้รถทั้งหมดแล้ว อาจจะเหลือเงินไม่ถึง 10,000 บาท หรือไม่เหลือเลยสักบาท เพราะรถบางคันนั้น ลงประกาศรถแบบติดไฟแนนซ์ที่สามแสนกลางๆ แต่ขายได้เพียงสองแสนปลายๆ เท่านั้นเอง ขาดทุนเกือบแสนบาท การขายรถติดไฟแนนซ์จะถูกกดราคาอย่างมาก ยิ่งคนซื้อรู้ว่า กำลังร้อนเงิน ยิ่งโดนหนัก
4. ส่วนการนำรถไปขายให้เต็นท์ จะรับซื้อที่ราคาไม่ถึง 400,000 บาท การขายรถให้เต็นท์ไม่น่าจะสามารถทำได้ ผู้เขียนเคยเจอกรณี
เดียวกันนี้ รถซื้อขายในท้องตลาดราคาประมาณ 350,000 บาท แต่ต้องจำใจขายให้เต็นท์เพียง 290,000 บาทเท่านั้นเอง โดยเต็นท์ไปปิดไฟแนนซ์ให้ และก็นำรถมาลงประกาศขายที่ใกล้เคียง 350,000 นั่นเอง เจ็บปวดใจที่สุด จนเข็ดขยาดการผ่อนรถเลยทีเดียว
5. ส่วนการปล่อยให้บริษัทไฟแนนซ์ยึดรถ ห้ามทำอย่างเด็ดขาด เพราะไฟแนนซ์จะตีราคารถให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะไม่น่าเกลียดเกินไป เช่นรถราคาซื้อขายอยู่ที่ 420,000 ค้างไฟแนนซ์อยู่ที่ 404,304 แต่ไฟแนนซ์อาจจะตีราคารถไม่ถึง 400,000 ก็คิดเอาละกันว่า รถ Honda City ณ เวลานั้น รถซื้อขายในท้องตลาด 350,000 เต็นท์ยังรับซื้อแค่ 290,000 แต่ไฟแนนซ์จะตีราคารถถูกกว่าแน่นอน ไม่น่าเกิน 250,000 และยังคิดค่าดำเนินการ ค่าเสียผลประโยชน์ และอื่นๆ อีกเพียบ ดังนั้น ห้ามปล่อยให้ไฟแนนซ์ยึดรถเป็นอันขาด เพราะจะต้องจ่ายเงินให้ไฟแนนซ์อีกหลายหมื่นบาทหรืออาจจะถึงแสนบาทเลยทีเดียว

กรณีที่ 2 ราคาซื้อขายรถยน์ใกล้เคียงหรือน้อยกว่าหนี้ค้างค่างวดไฟแนนซ์

กรณีนี้จะสร้างปัญหาให้กับเจ้าของรถอย่างมาก เพราะมูลค่ารถน้อยกว่าหนี้ที่ต้องจ่าย นั่นก็หมายความว่า รถคันนั้นไม่สามารถขายให้ใครได้ ยกให้ฟรีๆ ก็ไม่มีใครเอา นอกเสียจากต้องแถมเงินให้ด้วย
1. สมมุติว่ารถรุ่นนั้นซื้อขายกันอยู่ที่ 400,000 ในขณะที่ค้างค่างวดไฟแนนซ์ทั้งหมด 404,304 บาท
2. คิดเป็นส่วนต่างประมาณ 400,000 – 404,304 = -4,304 บาท กรณีนี้จะพบว่า ติดลบ ต้องแถมเงินให้คนซื้อรถด้วยอีกสีพันกว่าบาท เพราะยกให้ฟรีๆ ก็ไม่มีใครเอา ถ้าต้องเจอสภาพอย่างนี้ ก็ตัวใครตัวมัน ทางออกที่ดีที่สุดก็คือ หาคนซื้อได้ให้ก่อน ตกลงราคา ทำสัญญา หากคนซื้อต้องการผ่อน ก็ให้หาไฟแนนซ์ ยื่นเอกสารให้ตรวจสอบ ถ้าผ่านแน่ๆ ทางผู้ขายก็หาเงินก้อน อาจจะยืมใครก็ได้ หรือหนี้นอกระบบ ฯลฯ เพื่อเอาเงินก้อนไปปิดไฟแนนซ์ แล้วเอารถมาลงประกาศขาย น่าจะประหยัดเงินมากที่สุด
3. การขายรถผ่านเว็บไซต์ แม้บางเว็บจะมีบริการปิดไฟแนนซ์ แต่ก็เจ็บตัวอยู่แล้ว ก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ต้องเตรียมเงินไว้จ่ายเพิ่มเติมด้วย เพราะมูลค่าหนี้สูงกว่าราคารถที่ซื้อขายในขณะนั้น ขายรถได้ก็จริง แต่ก็ยังไม่พอเคลียร์หนี้
4. การขายให้เต็นท์ ไม่สามารถทำได้อยู่แล้ว เพราะราคาซื้อขายในท้อง ตลาดอยู่ที่ 400,000 บาท เต็นท์จะซื้อไม่เกิน 350,000 บาทอย่างแน่นอน ยิ่งรถใหญ่เครื่องใหญ่ ด้วยแล้ว อาจจะรับซื้อประมาณ 300,000 เท่านั้น
5. ส่วนการปล่อยให้บริษัทไฟแนนซ์ทำการยึดรถ ไฟแนนซ์เอาอยู่แล้ว หมูมาขึ้นเขียงรอแบบนี้ ไม่ชำแหละ ก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร ไฟแนนซ์จะตีราคาถูกกว่าเต็นท์รถ จะได้ไม่ถึง 350,000 พร้อมกับคิดค่าใช้จ่ายต่างๆ ค่าเสียผลประโยชน์ ดอกเบี้ย ค่าดำเนินการ ฯลฯ ก็น่าจะต้องจ่ายให้ไฟแนนซ์อีกน่าจะเกือบแสนบาท การปล่อยให้ไฟแนนซ์ยึดรถจึงห้ามทำอย่างเด็ดขาด

หมายเหตุ

มูลค่ารถที่ลดลงอย่างเร็วจนเหลือน้อยกว่าหนี้ที่ค้างค่างวดไฟแนนซ์ ก็มีเหตุมาจาก 2 กรณีด้วยกันคือ
1. การดาวน์น้อย แต่ผ่อนนานๆ แล้วรถคันนั้น ราคาตกเร็วมาก โดย เฉพาะในช่วง 1-2 ปีแรก ราคาอาจจะตกหลักแสนบาท เพราะการดาวน์น้อย ก็เลยทำให้ค่างวดสูง ค่างวดรวมทั้งหมดที่ต้องจ่ายทั้งปีน้อยกว่าราคารถที่ตกลงมา ก็จะทำให้รถมีมูลค่าน้อยกว่าหนี้ค้างค่างวดนั่นเอง การดาวน์น้อยจึงไม่ควรทำ หากการเงินยังไม่พร้อม อย่าเพิ่งซื้อรถ
2. การผ่อนรถที่ราคาตกเร็ว เช่น รถยุโรป รถเครื่องยนต์ใหญ่ๆ 1800 cc 2000 cc ขึ้นไป ราคาที่ตกเร็วมาก หากมีปัญหาการเงินในช่วงนั้น ก็ตายกันพอดี ดังนั้นก็ต้องหลีกเลี่ยงการผ่อนรถเครื่องยนต์ใหญ่ แม้จะเป็นรถยอดนิยมก็ตาม รถตลาดไม่นิยม ยิ่งดาวน์น้อยๆ

เรื่องต้องห้ามสำหรับการขายรถมือสองติดไฟแนนซ์

1. ห้ามขายรถให้บุคคลใดก็ตามโดยที่ยังไม่ได้ปิดไฟแนนซ์

อย่าขายรถและยกรถยนต์ให้คืนอื่นไปโดยที่ยังไม่มีการปิดไฟแนนซ์ แม้ว่าทางเต็นท์หรือผู้ซื้อจะแจ้งว่าจะดำเนินการปิดไฟแนนซ์ให้ก็ตามดังนั้นห้ามทำเด็ดขาด จะต้องไปปิดไฟแนนซ์ด้วยกัน เพราะผู้ขายเป็นคู่กรณีโดยตรงกับทางไฟแนนซ์ คนซื้อจะไม่สามารถดำเนินการแทนได้ และมีโอกาสสูงที่คนซื้อจะไม่ปิดไฟแนนซ์ ก็จะทำให้คนขายรถได้รับความเดือดร้อน
เพื่อนผู้เขียนขายรถให้เต็นท์ที่รู้จักกัน ซึ่งเป็นรถกระบะ โดยยังไม่ได้ปิดไฟแนนซ์ ด้วยรู้เท่าไม่ถึงการณ์คิดว่า ทางผู้ซื้อจะทำการปิดไฟแนนซ์ให้ ปรากฏว่า ผู้ซื้อซึ่งเป็นเต็นท์รถ นำไปขายต่ออีกที และคนที่ซื้อไปนั้น ก็เอาไปใช้ในไร่ในสวน โดยไม่มีการปิดไฟแนนซ์ ทำให้บริษัทไฟแนนซ์ฟ้องเรียกค่าเสียหายกับเจ้าของรถ ก็ต้องจ่ายเงิน พร้อมทั้งค่าเสียผลประโยชน์ ดังนั้นห้ามปล่อยรถให้คนอื่นโดยที่ยังไม่ปิดไฟแนนซ์อย่างเด็ดขาด เจ็บตัวแน่นอน เพราะอาจจะนำรถไปชำแหละ ไปส่งขายประเทศเพื่อนบ้าน ฯลฯ

2. อย่าปล่อยให้ไฟแนนซ์ยึดรถเพราะมีรายจ่ายตามมามาก

อย่าปล่อยให้ไฟแนนซ์ยึดรถอย่างเด็ดขาด พยายามหาช่องทางขายเอง เพราะจะมีรายจ่ายตามมามาก เหตุผลก็ตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

cr.rodusedcar

23 กันยายน 2561

เกียร์พัง ค่าซ่อมเป็นแสน ต้องทำยังไง


ระยะหลังอาจมีหลายคนเคยได้ยินปัญหาเกียร์พังในผู้บริโภคบางกลุ่ม เนื่องจากไม่ได้เปลี่ยนน้ำมันเกียร์เพราะเข้าใจว่าไม่ต้องเปลี่ยนตลอดอายุการใช้งานตามที่แบรนด์รถระบุไว้ แล้วเกียร์มีปัญหา เสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร เสียเงินซ่อมหลักแสนบาทภายในระยะเวลาไม่กี่ปี หรือใช้รถไปไม่นานต้องยกเกียร์ใหม่ทั้งลูก ทั้งที่ ตามปกติแล้วเกียร์ออโต้ หากใช้งานทั่วไปตามปกติ จะมีอายุการใช้งานได้ถึง 10-20 ปี หรือมากกว่า 300,000 กิโลเมตร
     นอกจากนี้ มีคนอีกจำนวนมากที่ยังไม่รู้ว่า ที่จริงแล้วเกียร์อัตโนมัติหรือเกียร์ออโต้ในรถยนต์นั้น มีอายุการใช้งานจำกัด ดังนั้นจึงต้องการการดูแลรักษาและใช้งานอย่างถูกวิธี เพื่อยืดอายุการใช้งานในระยะยาว โดยผลการสำรวจพฤติกรรมการขับขี่รถยนต์เกียร์อัตโนมัติจากกลุ่มตัวอย่าง* พบว่า กว่า 70% ของผู้ใช้รถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ไม่ทราบว่าพฤติกรรมการขับขี่รถยนต์ของตัวเองนั้น เป็นพฤติกรรมที่ผิด!!! และส่งผลให้เกียร์พังก่อนอายุการใช้งานที่ควรจะเป็น อีกทั้งยังไม่ทราบว่าอาการรถที่คิดว่าปกตินั้น จริง ๆ แล้ว รถมีอาการผิดปกติ เริ่มมีปัญหา แต่ไม่สังเกต!!!
อาการอย่างไรที่ส่อเค้าเกียร์รถมีปัญหา

     วิธีการสังเกตรถผิดปกติเบื้องต้นง่ายๆ คือ การสังเกตจากเสียง, สัมผัสการสั่นสะเทือนของรถ หรือแม้แต่สมรรถนะการขับขี่ของรถยนต์ที่ผิดแปลกออกไปจากเดิม เกียร์รถที่มีปัญหาก็เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ในช่วงเวลาเช้าๆ เมื่อสตาร์ทรถ นับ 1-10 แล้วรถยังไม่วิ่ง หรือรอบเครื่องของรถเร่งขึ้นสูง แต่รถไม่สามารถออกตัวได้ นั่นแปลว่าคุณกำลังเจอกับปัญหา "เกียร์ลื่น", “เกียร์กระตุก” หรือถึงขั้น “เกียร์กระชาก” ซึ่งอาจส่งผลต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตัวอย่างเช่น เวลาพยายามเร่งแซง แต่รถไม่มีกำลังส่ง ทำให้เหยียบแซงไม่พ้น เกิดอุบัติเหตุประสานงาได้ หรือบางกรณีถอยรถเข้าบ้านหรือออกตัว เมื่อรถไม่ไป จึงออกแรงกดคันเร่งเต็มที่ เมื่อมีแรงส่งจากเกียร์ที่เริ่มทำงานช้า ทำให้รถพุ่งชน

     ตัวอย่างอาการเหล่านี้ หากเจ้าของรถยนต์ยังละเลย ขาดการดูแล เมื่อทิ้งระยะเวลานานเข้า สะสมปัญหาจนสุดท้าย ต้องผ่าเกียร์โอเวอร์ฮอล ไล่เช็คทั้งระบบ หนักที่สุดคือการเสียเงินแสนยกเกียร์ลูกใหม่ หากเจออู่ซ่อมไม่ถูกจุด ก็ซ่อมไม่จบ งบบานปลาย บางคนถอดใจ ถึงขั้นขายรถทิ้ง ถอยคันใหม่สบายใจกว่า

แล้วต้องดูแลอย่างไรให้รถใช้ได้เป็น 10 ปี แต่เกียร์ยังฟิตเปรี๊ยะ!!!
     “ถนอมรถ ถนอมเกียร์ ขับขี่ถูกวิธี ดูแลสม่ำเสมอ” ช่างที่ไหนก็พูดเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นการไม่ คิกดาวน์ (Kick Down) หรือเชนเกียร์บ่อยเกินความจำเป็น เจอทางลาดต้องใช้เบรกมือช่วย เพื่อเบาแรงสลักเกียร์ หมั่นเข้าเกียร์ N เมื่อรถติดนาน ๆ อีกทั้งไม่ขับลากเกียร์และเปลี่ยนเกียร์ให้สัมพันธ์กับความเร็ว รวมถึงไม่เปลี่ยนเกียร์จาก D ไป R เร็วเกินไป โดยก่อนจะเข้าเกียร์ต้องเหยียบเบรกก่อนเสมอ และไม่ถอยหลังแล้วเดินหน้าทันที เพราะจะทำให้เกิดแรงที่หมุนสวนทางกันอย่างรุนแรง ซึ่งการขับขี่รถอย่างถูกวิธีนั้นมีส่วนช่วยลดความเสียหายต่อชุดเกียร์ได้

     นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการ “ดูแลอย่างสม่ำเสมอ” โดย คุณรัตนะลักษณ์ สกุลเขียว ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคเครื่องยนต์และระบบเกียร์อัตโนมัติ จาก ALPHA’S แบรนด์น้ำมันเกียร์อัตโนมัติเกรดพรีเมียมจากประเทศญี่ปุ่น ได้แนะนำอีกว่าการถนอมเกียร์วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ ที่ได้ “เกรด” และ "มาตรฐาน" รองรับการใช้งานของระบบเกียร์รถ และต้องดู “เบอร์น้ำมันเกียร์ให้ตรงกับคู่มือรถ หรือเลือกน้ำมันเกียร์ที่ทดแทนน้ำมันเกียร์เดิมของรถได้" (บางกรณีสามารถเช็คเบอร์น้ำมันเกียร์ได้จากก้านวัดน้ำมันเกียร์ที่มีสลักไว้) โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์เฉพาะให้ตรงกับยี่ห้อรถยนต์ก็ได้ และแนะนำให้เปลี่ยนทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร หรือ 1 ปี เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด
น้ำมันเกียร์ต้องเปลี่ยนเมื่อไหร่???



     คุณเอกชัย เทวกุล ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์กลุ่มน้ำมันและของเหลวสำหรับรถยนต์ จาก ALPHA’S ได้อธิบายอีกว่าปกติอายุของน้ำมันเกียร์ทุกยี่ห้อ มีกำหนดไว้ที่ระยะครบ 40,000 กิโลเมตร ดังนั้น ศูนย์รถแต่ละยี่ห้อ จึงแนะนำให้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ทุก 40,000 กิโลเมตร แต่ด้วยสภาพการจราจรที่ติดขัด การขับขี่จะต้องมีการเปลี่ยนเกียร์ที่มากกว่าปกติ เกียร์ทำงานเยอะขึ้น การสึกหรอมากขึ้น ก่อให้เกิดผงคลัช, เศษเหล็กหรือสิ่งสกปรกอื่นๆ ไปปะปนกับน้ำมันเกียร์ ทำให้น้ำมันเกียร์มีประสิทธิภาพและคุณสมบัติลดลง การสังเกตคุณภาพของน้ำมันเกียร์ ดูได้จากสี ความใส ฟองน้ำมันและตะกอนที่ปะปนมากับน้ำมัน ซึ่งสามารถตรวจดูได้พร้อมกันกับตอนที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง โดยที่การเปลี่ยนน้ำมันเกียร์มี 2 แบบ ได้แก่

1. การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์แบบปกติ ใช้วิธีขันน็อตถ่าย
     วิธีนี้น้ำมันเกียร์จะถูกถ่ายออกมาแค่ 40%-50% ของน้ำมันเกียร์ทั้งระบบ ดังนั้นในระบบจึงมีน้ำมันเกียร์เก่าที่ปนเปื้อนกับผงคลัทช์หรือผงเศษเหล็กซึ่งเกิดจากการทำงานของเกียร์ค้างอยู่ในระบบ ทำให้คุณสมบัติของน้ำมันเกียร์ลดลง ดังนั้นการเปลี่ยนถ่ายแบบนี้ แนะนำให้เปลี่ยนถ่ายทุก 20,000 กิโลเมตร
2. แบบเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ทั้งระบบ หรือเรียกว่า “การฟอกเกียร์” หรือ “เปลี่ยนถ่ายทั้งระบบ” หรือ “ฟลัชชิ่งเกียร์”
     วิธีนี้น้ำมันเกียร์เก่าในระบบจะถูกถ่ายออกมาทั้งหมด และดันน้ำมันเกียร์ใหม่เข้าไปทดแทน น้ำมันเกียร์ใหม่จึงยังคงคุณสมบัติได้เป็นอย่างดีเพราะไม่ถูกเจือปนโดยน้ำมันเกียร์เก่า การเปลี่ยนถ่ายแบบนี้ต้องใช้เครื่องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ แนะนำให้เปลี่ยนถ่ายทุก 40,000 กิโลเมตร โดยส่วนใหญ่เครื่องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ หรือที่เรียกกันติดปากในหมู่ช่างว่า เครื่องฟอกเกียร์ จะรองรับเฉพาะระบบเกียร์ ATF เท่านั้น ถ้าต้องการฟอกเกียร์ระบบ CVT จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เชื่อมต่อเรียกว่า CVT Adaptor ใช้ควบคู่กันกับเครื่องฟอกเกียร์ด้วย*
     (สำหรับค่าบริการของการฟอกเกียร์จะมีอัตราที่สูงกว่า เพราะใช้น้ำมันเกียร์มากกว่าการเปลี่ยนถ่ายแบบปกติถึงเท่าตัว และหากต้องการเข้ารับบริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ทั้งระบบ สำหรับเกียร์ทั้งระบบ ATF และ CVT สามารถเช็ครายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.alphas-thailand.com/alphas-directory)

     เพียงเท่านี้ก็สามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ไร้กังวล ไม่เสี่ยงต่อการเสียเงินหลักแสน เพื่อยกเกียร์ลูกใหม่ ยืดอายุการใช้งานรถยนต์ได้อีกนาน และอย่าลืมว่าไม่ว่าจะขับรถราคาแสนแพงแค่ไหน ทุกชิ้นส่วนของรถมีอายุการใช้งานที่สามารถเสื่อมสภาพได้ แต่สามารถยืดอายุการใช้งานได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา พฤติกรรมการขับขี่และการใช้งาน รวมถึงความใส่ใจต่อการดูแลรถและการช่างสังเกตของเจ้าของรถและผู้ขับขี่เองด้วย

     สำหรับใครที่สนใจอยากรู้วิธีดูแลรักษารถรักษาเกียร์เพิ่มเติม และแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องรถกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิครถยนต์และเกียร์โดยเฉพาะ พร้อมลุ้นรับสิทธิ์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ ฟรี! กับแคมเปญเวิร์คชอป “‘อัลฟ่าส์ซัง’ ชวนก๊วนคนรักรถ ดูแลรถ  ใจไม่เพลีย เกียร์ไม่พัง”ปลุกกระแสรณรงค์ผู้บริโภคให้ตื่นตัวดูแลรถดูแลเกียร์อย่างถูกวิธี ป้องกันปัญหาเกียร์พังก่อนอายุการใช้งาน ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลเกียร์รถยนต์อัตโนมัติ พร้อมสังเกตอาการผิดปกติของรถยนต์และความสำคัญของพฤติกรรมการขับขี่รถยนต์เกียร์อัตโนมัติที่ถูกต้อง เพื่อยืดอายุเกียร์รถยนต์อัตโนมัติ ป้องกันปัญหาเกียร์พัง ยกเกียร์ลูกใหม่ราคาหลักแสน สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ที่ http://bit.ly/2Qd9UxL รับสิทธิ์จำนวนจำกัดเพียง 30 ท่านเท่านั้น!!!
     “รักรถต้องดูแล ไม่อยากเสียเงินแสน แนะนำเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ ทุก 20,000 กม.หรือ 1 ปี”

cr.sanook

16 กันยายน 2561

ข้อดีของ "รถมือสอง" ที่รถป้ายแดงเทียบกันไม่ติด!


หลายคนเมื่อพูดถึง  ก็เบือนหน้าหนีแล้ว แต่รถมือสองก็มีข้อดีชนิดที่ว่ารถป้ายแดงเทียบไม่ติดเลยทีเดียว
     แม้ว่าปัจจุบันค่ายรถจะมีโปรโมชั่นฟรีดอกเบี้ย ดาวน์น้อย ผ่อนนาน ของแถมเพียบขนาดไหน แต่ตลาดรถยนต์มือสองก็ยังได้รับความนิยมอยู่เรื่อยๆ ไม่เสื่อมคลาย ซึ่งเหตุผลที่รถมือสองถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับใครหลายคน มีดังนี้
1
1.ราคาต่ำกว่าป้ายแดงมาก
     ราคารถยนต์มือสองถือเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้หลายคนตัดสินใจซื้อรถมือสองมาใช้งาน เนื่องจากยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไหร่ ราคาตัวรถก็จะยิ่งถูกลง โดยเฉพาะเมื่อรถรุ่นเดียวกันมีการออกโมเดลใหม่ ก็มีส่วนทำให้ราคามือสองขยับต่ำลงได้อีกเช่นกัน
     ยกตัวอย่างเช่น Toyota Corolla Altis 1.8 V รุ่นปี 2014 (โมเดลปัจจุบัน) ราคาป้ายแดงอยู่ที่ 1,079,000 บาท ปัจจุบันหาซื้อมือสองสภาพดีได้ในราคา 5 แสนบาทต้นๆ เท่านั้น
2.ได้รถขนาดใหญ่กว่า คุณภาพดีกว่า
     หลายคนมักคิดว่าของใหม่ย่อมดีกว่าของใช้แล้วเสมอ แต่สำหรับรถยนต์อาจไม่จริงเสมอไปนัก เพราะการซื้อรถยนต์มือสอง อาจทำให้คุณได้รถรุ่นใหญ่กว่า ที่มีระบบความปลอดภัยและโครงสร้างตัวถังดีกว่า นี่ยังไม่รวมไปถึงคุณภาพวัสดุและการประกอบของรถรุ่นเล็กที่อาจไม่ดีเท่ากับรุ่นใหญ่
     แต่ทั้งนี้ รถมือสองจำเป็นต้องเลือกคันที่ไม่เคยชนหนักมาก่อน เนื่องจากความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังจะลดลง ส่งผลต่อความปลอดภัยอย่างมากในกรณีเกิดการชน
202
3.ค่าเสื่อมราคาน้อยกว่าป้ายแดง
     "รถ เท่ากับ ลด" เป็นสิ่งที่ใครหลายคนได้ยินกันบ่อย ทันทีที่คุณถอยรถป้ายแดงออกจากโชว์รูม มูลค่าตัวรถก็ลดลงนับแสนบาทแล้ว แต่สำหรับรถมือสองไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะมูลค่ารถมือสองหล่นลงจากป้ายแดงมาก้อนใหญ่แล้ว หากคุณซื้อรถมือสองมาใช้สัก 1 ปี แล้วเกิดอยากเปลี่ยนคันใหม่ มูลค่าอาจลดลงเพียงหลักหมื่นบาทเท่านั้น ขึ้นอยู่กับมูลค่าที่คุณซื้อมาด้วย
4.ซื้อเงินสดได้ง่ายกว่า
     รถยนต์มือสองมีราคาต่ำกว่าป้ายแดงมาก จนหลายคนนำเงินเก็บสะสมไปซื้อรถยนต์มือสองด้วยเงินสด โดยไม่ต้องเป็นหนี้ให้ปวดหัว แถมยังสามารถเก็บเงินก้อนใหม่ได้เร็วขึ้น นำเครดิตทางการเงินที่มีไปใช้กับทรัพย์สินอื่น เช่น บ้าน, คอนโดมิเนียม หรือนำไปลงทุนอื่นๆ ก็ยังได้
201
     อย่างไรก็ดี รถยนต์มือสองใช่ว่าจะซื้อง่ายเหมือนกับรถใหม่นะครับ เพราะจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตรวจสอบรถยนต์แต่ละคันอย่างรอบคอบ เปรียบเทียบคันอื่นๆ ในรุ่นเดียวกันอย่างละเอียด เพื่อให้เจอรถมือสองสภาพดีจริงๆ ไม่ถูกย้อมแมว ซื้อขายถูกต้องตรงไปตรงมา จึงจะช่วยให้ใช้รถมือสองได้อย่างสบายใจนั่นเองครับ

ข้อมูลแนะนำ